1. บทความ
  2. ความดันโลหิตที่ควรรู้

ความดันโลหิตที่ควรรู้

8 สิงหาคม 2565

ความดันโลหิตที่ควรรู้

ควรเช็คค่าความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ

ความดันโลหิต

ความดันโลหิตคืออะไร?

ความดันโลหิต เป็นแรงดันเลือดที่เกิดจากการสูบฉีดไปเลียงทั่วร่างกาย ซึ่งวัดได้ 2 ค่า

  • ความดันโลหิตค่าบน คือ แรงดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัว
  • ความดันโลหิตค่าล่าง คือ แรงดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัว

ค่าความดันโลหิตสูงคืออะไร?

ความดันโลหิตสูง(Hypertension) เป็นภาวะที่ตรวจพบว่ามี่ความดันโลหิตสูงกว่าปกติ คือ มากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอด ซึ่งอาจไม่แสดงอาการแต่อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ไตวาย เป็นต้น หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและถูกต้องอาจทำให้ผู้ป่วยทุพพลภาพหรือเสียชีวิตได้


ความดันโลหิต-table

วิธีวัดความดันโลหิตที่บ้าน

  1. ไม่ดื่มชา กาแฟ สูบบุหรี่ หรือออกกำลังกายก่อนกานวัด 30 นาที
  2. ก่อนทำการวัดควร ทำธุระส่วนตัวให้เรียบก่อน
  3. นั่งเก้าอี้ให้หลังพิงพนักเพื่อให้หลังไม่เกร็ง เท้าทั้ง 2 ข้าง วางราบบนพื้น เพื่อให้เกิดความรู้สึกผ่อนครายเป็นเวลา 5 นาที่ ก่อนวัดความดันโลหิต
  4. วัดความดันโลหิตในแขนข้างที่ไม่ถนัด หรือข้างที่มีค่าความดันที่สูงกว่าโดยวางแขนให้อยู่ในระดับเดียวกับหัวใจ
  5. ขณะวัดความดันโลหิต ไม่กำมือ ไม่พูดคุย หรือขยับตัว

ในการวัดค่าความดันโลหิตในแต่ละครั้งควรใช่วิธีการวัดที่ถูกต้อง พร้อมจดบันทึกตัวเลขค่าความดันโลหิตตัวบนและตัวล่างรวมทั่งอัตราการเต้นของหัวใจในสมุดประจำตัวผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โดยวัดค่าความดันโลหิตอย่างน้อง 2 ช่วงเวลา ได้แก่

ช่วงเช้า วัดความดันโลหิตอย่างน้อย 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 1 – 2 นาที่ ภายใน 2 ชั่วโมงหลังตื่นนอน

ช่วงก่อนเย็น วัดความดันโลหิตอย่างน้อย 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 1 – 2 นาที่

ความหมายของตัวย่อบนเครื่องวัดความดัน

ซิสโตลิก (SYS) คือ ค่าความดันโลหิตตัวบน

ไดแอสโตลิก (DIA) คือ ค่าความดันโลหิตตัวล่าง

ชีพจร (PUL) คือ อัตราการเต้นของหัวใจ

แชร์: